วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนะนำแผนการจัดการเรียนรู้
หนังสือคำสอนชุดชีวิตคริสตังบูรณาการวิถีชุมชนวัด  (BEC)

เมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 2012  หลังจากที่ได้ดำเนินงานมาระยะหนึ่ง   ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานแผนกวิถีชุมชนวัด ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้เตรียมแผนขยายขอบข่ายการดำเนินงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความต่อเนื่องของการฟื้นฟูความเชื่อคริสตชนทุกวัย  โดยใช้ขบวนการอภิบาลแบบบูรณาการโดยมี AsIPA (Asian Integral Pastoral Approach) เป็นเครื่องมือ   สำหรับผู้ใหญ่นั้นเราพอมีแนวทางที่ชัดเจนแล้ว   คือ นอกจากเอกสาร ”กระบวนการฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์” ในแต่ละเดือนแล้ว  เรายังใช้พระวาจาประจำวัน หรือ ประจำสัปดาห์ที่เรายึดเป็นแนวปฏิบัติอยู่เป็นประจำ  เรายังเล็งเห็นความสำคัญของเด็ก  เยาวชน  ซึ่งถ้าบุคคลเหล่านี้ได้มีโอกาสร่วมในชุมชนย่อย ๆ ในละแวกบ้านของเขานั้นป็นสิ่งที่ดี  จะทำให้เขาได้ซึมซับทีละเล็กทีละน้อย    นอกจากนี้เรายังตระหนักถึงองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เขาควรจะได้รับ  จึงพยายามสรรหาคู่มือเพื่อที่จะเสริมจิตตารมณ์การเป็น “วิถีชุมชนวัด” สำหรับเขา  ที่สุดก็ได้พบว่าหนังสือคำสอน “ชุดชีวิตคริสตัง” เล่ม 1 – 9  ซึ่งทางคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม สภาพระสังฆราชฯ ได้จัดพิมพ์โอกาสฉลอง ปีปีติมหาการุญ ค.ศ. 2000  ใช้สำหรับสอนระดับชั้นประถมปีที่ 1 – มัธยมปีที่ 3  นั้นดีอยู่แล้ว    จึงได้นำมาศึกษาเพิ่มเติมและพยายามบูรณาการกับกระบวนการ “วิถีชุมชนวัด” โดยยึดเครื่องหมาย  4  ประการที่เป็นการบ่งชี้ถึงความเป็นวิถีชุมชนวัด(Basic Christian Community - BEC) คือ
       1.  จำนวนสมาชิกในกลุ่มย่อยเริ่มจากประมาณ 5 – 15  ครอบครัว เป็นเพื่อนบ้านกัน หรืออยู่ในละแวกเดียวกัน
       2.  กิจกรรมสำคัญคือการแบ่งปันพระวาจาเป็นพื้นฐานของการพบปะกัน  
       3.  การแสดงออกและทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันของชุมชนคริสตชนย่อยนั้นมาจากความเชื่อ   
       4.  ชุมชนคริสตชนย่อยต้องเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากลและต้องขึ้นกับวัดที่ตนสังกัด
                ในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ในหนังสือชุดชีวิตคริสตัง   ซึ่งประกอบด้วย   5 ขั้นตอน   คือ
1. ประสบการณ์ (Learning Activity)  ขั้นตอนนี้ประกอบด้วยการแบ่งปันและการอภิปราย เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้สึกของผู้เรียนจากกิจกรรมที่กระทำ ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรมกลุ่ม หรือส่วนตัว
2. เนื้อหา (Christian Message)  เป็นการมุ่งไปที่การเสนอ   การพัฒนา  และช่วยผู้เรียนให้มีความลึกซึ้งในพระคัมภีร์อย่างชัดเจน เท่าที่สามารถแก่ผู้เรียน  ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก อธิบาย ทำให้ลึกซึ้ง และขยายหัวข้อเรื่องภายใต้การอภิปราย
3. เสริมประสบการณ์ (Enrichment)  เป็นการนำเอาคำถามหรือข้อข้องใจของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในระหว่างการอภิปรายเนื้อหามาทำให้กระจ่างชัดขึ้น หรืออาจมีบางแง่มุมที่ควรเพิ่มเติมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
4. การตอบรับ (My response)  เป็นการตัดสินใจกระทำ วางแผนกิจกรรม และความตั้งใจ การไตร่ตรอง      ความร่วมมือ และสร้างสรรค์งานต่างๆ ร่วมกัน เพื่อตอบรับกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากเนื้อหาในพระคัมภีร์ และธรรมประเพณีต่างๆ ของพระศาสนจักร ให้เหมาะกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงตามแบบสังคมไทย
5. ฉันเรียนรู้ (My Learnings)  เป็นการวัดผลทางด้านความคิด กิจกรรม และข้อตั้งใจปฏิบัติ   ครูมีบทบาทเป็น ผู้แนะแนว ให้กำลังใจผู้เรียนให้ค้นพบวิถีทางใหม่ในการประพฤติและปฏิบัติ
จากกระบวนการเรียนรู้ในหนังสือชุดชีวิตคริสตัง 5 ขั้นตอนนี้  ทางคณะกรรมการดำเนินงานฯจึงได้ร่วมมือกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม   แผนกคริสตศาสนธรรม  สภาพระสังฆราชฯ  นำวิธีการแบ่งปันพระวาจาอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ในการอภิบาลวิถีชุมชนวัด ที่เรียกว่า “LOOK LISTEN LOVE” (3Ls ) มาจัดในรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ฯ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำไปใช้   ขั้นตอนหลักของกระบวนการ 3Ls    ได้แก่
     1.  การมองชีวิตในปัจจุบัน (LOOK) ประสบการณ์ เรื่องเล่า / คำถามเพื่อการไตร่ตรอง
     2.  การฟังพระวาจาของพระเจ้า (LISTEN) ไตร่ตรอง / แบ่งปัน
     3.  การดำเนินชีวิตศิษย์พระเยซู (LOVE) นำพระวาจาไปปฏิบัติ

เทียบกระบวนการสอนของหนังสือคำสอนชุดชีวิตคริสตัง
และกระบวนการอภิบาลวิถีชุมชนวัด (3Ls)

  ประสบการณ์
การมองชีวิตปัจจุบัน  (LOOK)
  เนื้อหา
การฟังพระวาจาพระเจ้า  (LISTEN)
  เสริมประสบการณ์
การฟังพระวาจาพระเจ้า  (LISTEN)
  การตอบรับ
ดำเนินชีวิตศิษย์พระเยซู   (LOVE)
  ฉันเรียนรู้
ดำเนินชีวิตศิษย์พระเยซู  (LOVE)

  อย่างไรก็ดี  ในหลักสูตรการอบรมคำสอนภาคฤดูร้อน ปี ค.ศ.2013 ณ ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมระดับชาติ  ได้จัดอบรมวิถีชุมชนวัด (BEC) ให้กับนักศึกษาฯ ชั้นปีที่ 3   และได้นำเสนอตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ฯ นี้แก่ผู้เข้ารับการอบรมฯด้วย โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อจากหนังสือชุดชีวิตคริสตังนี้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ฯด้วยตนเอง ทุกกลุ่มทำได้ดีและเห็นว่าง่ายต่อการนำไปใช้ 
หนังสือชุดชีวิตคริสตังนี้ เป็นกระบวนการเรียนคำสอนแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ  จึงเหมาะอย่างยิ่งกับการสอน  คำสอนในยุคปัจจุบันทั้งในด้านจิตวิทยา (วัยของผู้เรียน) ความสัมพันธ์  ความครอบคลุม  และความต่อเนื่องของข้อ   คำสอน   และสามารถบูรณาการวิถีชุมชนวัด (BEC) ได้เป็นอย่างดี
 แผนการจัดการเรียนรู้ฯนี้  ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจทานและจัดพิมพ์ จะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้ หากท่านสนใจสามารถติดต่อได้ที่   ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล หรือ คุณนริศรา  เปรมปรี        ศูนย์อบรม
คริสตศาสนธรรมระดับชาติ  82 หมู่ 6 ซอยวัดเทียนดัด ถนนเพชรเกษม ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110  โทรศัพท์ 0-2429-0443 โทรสาร 0-2429-0239 โทรศัพท์มือถือ 08-2335-2112  E-mail : nccthailand@gmail.com

(โดย... ซ.สุวรรณี  พันธ์วิไล     ผู้อำนวยการศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม ระดับชาติ : พฤษภาคม 2556)




วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระนางมารีย์ แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม
(Mary, the Model Catechist)

          เราไม่ค่อยจะได้พูดคุยเกี่ยวกับพระนางมารีย์ในฐานะครูคริสตศาสนธรรม และเราไม่ค่อยจะได้คิดถึงพระนางในฐานะแบบอย่างสำหรับบุคคลผู้ซึ่งสอนคริสตศาสนธรรม แต่พระนางพรหมจารีมารีย์ไม่ได้เป็นเพียงแบบอย่างเท่านั้น พระนางเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์แบบซึ่งครูคริสตศาสนธรรมทุกคนใน
พระศาสนจักรคาทอลิกควรจะเป็น
ก่อนที่เราจะลงลึกในเรื่องของเรามากไปกว่านี้ คงจะเป็นการดีที่จะถามตัวเราเองว่า               “ครูคริสต ศาสนธรรมคืออะไร”  ครูคริสตศาสนธรรมคือคนที่ทำการสอนบุคคลอื่นในเรื่องความเชื่อที่เที่ยงแท้หนึ่งเดียว สังเกตดูเรากำลังพูดถึงสองสิ่ง ครูคริสตศาสนธรรมสอนบุคคลอื่นซึ่งหมายถึงสอนผู้อื่นโดยการหล่อหลอมจิตใจเพื่อจุดประกายความสมัครใจ ครูคริสตศาสนธรรมไม่ใช่เพียงแต่สอนเพื่อสอนความคิด แต่หล่อหลอมจิตใจเพื่อจุดประกายความสมัครใจด้วย
ยิ่งกว่านั้นครูคริสตศาสนธรรมคือบุคคลผู้ซึ่งสอนคนอื่นในข้อความเชื่อที่เที่ยงแท้หนึ่งเดียว       มีข้อความเชื่อหลายอย่าง ไม่มีผู้ใดเลยจริงๆที่เป็นผู้ที่ไม่มีความเชื่อ ทุกคนเชื่อแต่ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อในความเชื่อเที่ยงแท้หนึ่งเดียว การสอนผู้อื่นในความเชื่อเที่ยงแท้หนึ่งเดียว หมายถึงความเชื่อที่ได้รับการยอมรับโดยพระศาสนจักรซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งขึ้น
เรากล่าวว่าพระนางมารีย์เป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์แบบซึ่งครูคริตศาสนธรรมคาทอลิกทุกคนควรจะเป็น เมื่อกล่าวดังนี้ เรายืนยันสิ่งที่อาจจะไม่ชัดแจ้งว่าพระนางเป็นครูคริสตศาสนธรรม พระนางได้สอนผู้อื่นในความเชื่อเที่ยงแท้หนึ่งเดียว และพระนางได้ทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธาซึ่งเราอาจจะเรียกพระนางอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่ามารดาของครูคริสตศาสนธรรม
สิ่งนี้นำเราสู่คำถามเบื้องต้นที่เราควรถามว่า “พระนางมารีย์เป็นครูคริสตศาสนธรรมที่สมบูรณ์แบบอย่างไร?” และ “ เราสามารถเรียนรู้จากพระนางในการสอนศาสนาคาทอลิกแก่คนอื่นอย่างไร? ”  คำตอบอยู่ในความเข้าใจสิ่งที่เป็นคุณสมบัติหลักของพระนางมารีย์ซึ่งเราควรพยายามเลียนแบบในชีวิตครู
คริสตศาสนธรรม โดยการปฏิบัติตามแบบอย่างของพระนางมารีย์ เราสามารถเป็นเหมือนพระนาง    ผู้ซึ่งเป็นผู้สื่อสารที่สมบูรณ์แบบในการเผยแสดงพระบุตรของพระนางซึ่งเป็นพระบุตรของพระเจ้ามากยิ่งขึ้น
ข้าพเจ้าจะจำแนกคุณสมบัติเหล่านี้อย่างเจาะจงเป็น 3 ประเด็น
·         ความเชื่อของพระนางมารีย์ชัดเจนและสามารถเข้าใจได้
·         ความเป็นหนึ่งเดียวกันในคำภาวนากับพระหฤทัยของพระบุตร
·         การดำเนินชีวิตที่สุภาพและกล้าหาญของพระนางมารีย์ ตามพระประสงค์ของพระเจ้า
การมอบคุณสมบัติเหล่านี้ในพระนางพรหมจารี เราได้มีมูลเดิมของปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของพระนางมารีย์ ในฐานะแบบอย่างของครูคริสตศาสนธรรม เพราะเหตุใด? เพราะความสำคัญของการสอน
คริสตศาสนธรรมไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่ถูกพูดออกมา ความสำคัญอยู่ในสิ่งที่ถูกสื่อสาร เพื่อที่จะสื่อสารความจริง บุคคลนั้นต้องมีความเชื่อที่ชัดเจน ความเป็นหนึ่งเดียวที่ลึกซึ้งกับพระเจ้าในการภาวนาและดำเนินชีวิตอย่างกล้าหาญสอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นเป็นครูคริสต
ศาสนธรรมที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีใครอื่นที่เป็นแม้กระทั่งครูคริสตศาสนธรรมที่แท้จริง
          ดังนั้นทั้งสามประเด็นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงพื้นฐานของการสอนคริสตศาสนธรรมที่แท้จริง ในความเห็นของข้าพเจ้า  เป็นจิตวิญญาณของการสอนคริสตศาสนธรรม หากไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วการสอนในเรื่องศาสนาคาทอลิกก็เป็นเพียงแต่การเรียนการสอนความรู้แต่ไม่มีชีวิตชีวา ไม่ใช่ทุกคนที่พูดเกี่ยวกับศาสนาจะเป็นการสอนคริสตศาสนธรรม

ความเชื่อของพระนางมารีย์
          การพูดถึงพระนางมารีย์ในฐานะแบบอย่างของครูคริสตศาสนธรรม เราเริ่มจากชีวิตจิตของ  พระนาง เริ่มต้นพร้อมกับความเชื่อที่ลึกซึ้งและปราศจากข้อสงสัย คำคุณศัพท์ “ปราศจากข้อสงสัย” เป็นความสำคัญของความเชื่อเที่ยงแท้ เรารู้ว่าความเชื่อเป็นการยอมรับด้วยจิตใจในสิ่งที่พระเจ้าทรงเผยแสดง มันหมายถึงการเชื่อโดยปราศจากเงาแห่งความสงสัยในทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงบอกแก่เราว่าเป็นความจริง เพราะเหตุใด? เพราะพระองค์ไม่ทรงหลอกลวง และไม่ทรงถูกหลอกลวง
          พระนางมารีย์มีความเชื่อแบบนี้ ในการแจ้งสารพระนางเชื่อว่าสิ่งที่ทูตสวรรค์นำมาแจ้งว่า    พระบุตรที่พระนางจะทรงครรภ์เป็นพระบุตรของพระเจ้าพระผู้สูงสุด ความเชื่อของพระนางเป็น     ความเชื่อที่ชาญฉลาด หลังจากที่พระนางถามว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้อย่างไร เนื่องจากพระนางได้ถวายพรหมจรรย์แด่พระเจ้า ทูตสวรรค์ได้ให้ความมั่นใจพระนางว่าพระจิตเจ้าจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์ให้เป็นไปได้ พระนางก็เชื่อ นั่นคือความเชื่อ อะไรคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์ ซึ่งพระเจ้า ทำให้เป็นไปได้ นั่นคือหญิงพรหมจรรย์จะตั้งครรภ์
          พระนางมารีย์ทรงรู้สิ่งที่ประกาศกได้ทำนายล่วงหน้าเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานของ              พระเมสสิยาห์ พระนางไม่มีภาพเกี่ยวกับการเป็นมารดาของพระเมสสิยาห์ซึ่งจะเกิดความเสียหายแก่ พระนาง แต่พระนางไม่ได้ลังเลใจ พระนางแจ้งแก่ทูตสวรรค์ว่า “ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” คำบุพบท “กับ” เป็นคำที่สำคัญมากที่สุดคำหนึ่งในพันธสัญญาใหม่
          ความเชื่อเที่ยงแท้คือความพร้อมที่จะเชื่อไม่ใช่เพียงในพระเจ้า ไม่เพียงแต่ในสิ่งที่พระองค์สามารถทำเพื่อเรา ความเชื่อเที่ยงแท้รวมถึงสิ่งที่พระเจ้าสามารถทำให้เราด้วย และพระองค์สามารถทำสิ่งต่างๆมากมาย มันอาจเป็นความเจ็บปวด และอย่างไรก็ตามเราเชื่อว่า บุคคลผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเจ็บปวดทรงรักเรา การได้เห็นความสมัครใจของพระเจ้าท่ามกลางการไต่สวนคดีถึงชีวิต เป็นข้อพิสูจน์ของความเชื่อที่บริสุทธิ์และเข้าใจได้  การเผชิญกับปัญหาที่ว่าพระนางทรงครรภ์ ทำให้พระนางเป็นทุกข์, และการได้เห็นความพยายามของของโยเซฟผู้รู้ว่าพระนางบริสุทธิ์, ความเชื่อของพระนางมารีย์ไม่ได้ลดน้อยลง พระนางยังคงเงียบ- เงียบภายใต้ความอัปยศอดสู แล้วพระเจ้าทรงทำอัศจรรย์ โดยการส่ง         ทูตสวรรค์องค์เดิมแจ้งแก่โยเซฟให้รับพระนางมารีย์เป็นภรรยาตามที่ได้หมั้นหมายไว้ พูดตามประสามนุษย์ พวกเขารู้สึกไม่มีข้อมูล เพราะเหตุใดพระเจ้าไม่บอกโยเซฟก่อน? ไม่ใช่พระเจ้า
ความเชื่อของพระนางมารีย์ค้ำจุนพระนางในระหว่างเวลา 30 ปีที่อยู่กับพระเยซูในเมือง          นาซาเร็ธ และ 3 ปีในการเทศนาสั่งสอนของพระองค์ แต่เป็นเพราะความเชื่อโดยเฉพาะของพระนาง จาก กัลป์วารีสู่วันอาทิตย์ปาสกา ซึ่งพระศาสนจักรได้ฉลองวันที่ระลึกตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ทุกวันเสาร์เป็นวันที่เรียกว่าวันแห่งความเชื่อได้อย่างเหมาะสม พระนางมารีย์เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่มีความสงสัยว่า      พระบุตรของพระนาง แม้จะถูกตรึงบนกางเขนและถูกฝัง, จะกลับฟื้นคืนชีพจากความตาย พูดเกี่ยวกับความเชื่อในความเป็นมนุษย์ปุถุชนซึ่งเป็นไปไม่ได้
          การพูดถึงครูคริสตศาสนธรรม ไม่มีอะไรเป็นรากฐานสำคัญมากกว่า ไม่มีอะไรจำเป็นในงานมากกว่าการแบ่งปันเรื่องความเชื่อซึ่งแน่นอนและเข้าใจได้ของพระนางมารีย์ เพียงแต่ผู้เชื่อสอน       ความเชื่อ ไม่มีใครอื่นทำได้ ผู้ไม่มีความเชื่อไม่ทำ ความเชื่อเท่านั้นที่พระเจ้าใช้ในการสื่อสารความเชื่อแก่ผู้อื่น ทุกคนต้องยอมรับ “ เหตุผลที่ข้าพเจ้าเชื่อก็เนื่องจากว่าบางคนที่มีความเชื่อได้แบ่งปันกับข้าพเจ้าเป็นครั้งแรก” ไม่มีข้อยกเว้น
          ผู้ไม่มีความเชื่อ ไม่ว่าผู้ที่ได้เรียนรู้หรือคงแก่เรียน ไม่สามารถให้แก่ผู้อื่นในสิ่งที่ตนไม่มี ความรู้ทางวิชาการมีประโยชน์ ความเชื่อเป็นสิ่งที่จำเป็น การเรียนการสอนเป็นประโยชน์หากมันถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อ  หากปราศจากความเชื่อ การเรียนการสอนไม่เป็นเพียงความรับผิดชอบเท่านั้น มันกลายเป็นการชักชวนไปในทางที่ผิด เช่นเดียวกับพระนางมารีย์ ครูคริสตศาสนธรรมสอนโดยเกือบปราศจากวิธีการสอนคริสตศาสนธรรม พระแม่ของเราไม่ได้จัดห้องเรียนและจำนวนคำพูดของพระนางที่ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์มีน้อยมาก อย่างไรก็ตามนักบุญออกัสตินไม่ลังเลที่จะเรียกพระนางมารีย์ว่าเป็นหนังสือคริสต
ศาสนธรรมที่มีชีวิต (Catechisms vivens) เพราะเหตุใด เพราะว่านั่นคือสิ่งที่พระนางเป็นหนังสือคริสต
ศาสนธรรมไม่ได้ถูกพิมพ์ออกมาทิ้งไว้ หนังสือคริสตศาสนธรรมมีชีวิต มนุษย์มีความเชื่อ ครูคริสต
ศาสนธรรมทุกคนตั้งแต่สมัยของพระนางมารีย์สอนแต่เพียง  -เหมือนพระแม่-  สิ่งที่พวกเขาเชื่ออย่างแท้จริง

บทภาวนาของพระนางมารีย์
          พระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมลสวดภาวนา ธรรมประเพณีบอกเราว่าพระนางกำลังสวดภาวนาอยู่ เมื่อทูตสวรรค์ปรากฏมาแจ้งว่าพระนางได้รับการเลือกสรรให้เป็นมารดาของพระเจ้า ในการเสด็จมาเยี่ยมพระนางกำลังสวดภาวนา เราอาจกล่าวว่าพระนางร้องบทเพลงสดุดี (มักนีฟีกัต) ที่เบธเลเฮม ไม่มีคำพูดแม้แต่คำเดียวที่เป็นบทสนทนาของพระนางมารีย์กับคนอื่นๆ ไม่มีแม้แต่พยางค์เดียวจากริมฝีปากของพระนางที่ถูกบันทึกไว้ เราได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับทารกนี้ และทุกคนที่ได้ยินต่างรู้สึกประหลาดใจในสิ่งที่คนเลี้ยงแกะได้บอกแก่พวกเขา แต่ในส่วนของพระนางไม่มีคำพูดใดๆ –“ พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย”  สิ่งนี้ต้องการคำพูดว่าอย่างไร บทภาวนาหลักของพระนางมารีย์เป็นบทสวดของหัวใจ การภาวนาในใจ การภาวนาด้วยใจ ในคำเดียว พระนางมารีย์สวดภาวนาจากเบื้องลึกของพระนาง รวมตัวของพระนางเองกับพระเยซู ผู้ซึ่งรู้ได้ทันทีว่าเป็นพระผู้สร้างและบุตรของพระนาง
          อีกครั้งในการถวายพระกุมารในพระวิหารไม่มีคำพูดแม้สักคำเดียวที่ถูกนำมาจากคำพูดของพระนางมารีย์ในการสนทนากับพระสงฆ์ในพระวิหารหรือกับสิเมโอนหรือกับอันนา สิเมโอนพูดกับ     พระนางมารีย์ เราไม่ได้รับการบอกสิ่งที่พระนางได้พูดกับท่าน เรารู้ว่าพระนางปิติในการสวดภาวนา การพบในพระวิหารหลังจากที่โยเซฟและพระนางมารีย์พบพระเยซู พระนาง ถามพระเยซูว่าทำไมพระองค์จึงทำกับเราเช่นนี้ คำตอบของพระองค์คือ พระองค์ต้องปฏิบัติภารกิจของพระบิดาที่แท้จริง ดังนั้นครั้งที่สองนักบุญ
ลูกาบอกกับเราว่าพระมารดาทรงเก็บเรื่องเหล่านี้ไว้ในพระทัย นี่คือคำบอกเล่าที่ถูกบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่พระนางมารีย์ได้ทำระหว่างช่วงเวลาหลายปีที่พระนางมีชีวิตอยู่ร่วมกับพระบุตรที่นาซาเร็ธ พระองค์อยู่ในความคิดของพระนางเสมอ พระองค์อยู่ในหัวใจของพระนางเสมอ
          ปัจจุบันบทภาวนาของครูคริสตศาสนธรรม เช่นเดียวกับความเชื่อและการสวดภาวนาเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสอนคริสตศาสนธรรมนอกจากครูคริสตศาสนธรรมจะสวดภาวนาจริงๆ เรียกว่าการสวดภาวนาโดยใช้เสียง หรือการรำพึง; เรียกว่าการสวดภาวนาในใจหรือพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่าคำภาวนาสั้นๆ จากใจ หรือช่วงเวลาสงบกับพระเจ้า จะใช้ชื่อใดๆ ก็ตาม การภาวนาเป็นจิตวิญญาณของการสอนเกี่ยวกับศาสนา บุคคลจะประสบความสำเร็จอย่างเหนือธรรมชาติเหมือนครูคริสตศาสนธรรม ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเป็นชายหรือหญิงที่สวดภาวนา  จากประสบการณ์เป็นพระสงฆ์ 40 ปี สอนให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่ข้าพเจ้ายังไม่เคยพิมพ์เปิดเผย คือ ใครสวดภาวนา ก็สื่อสารสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากการสื่อสารกับพระเจ้า
          เราสัมผัสหัวใจของการสอนคริสตศาสนธรรม เมื่อเราพูดว่าครูคริสตศาสนธรรมต้องสวดภาวนา มีเหตุผลหลายอย่างสำหรับเรื่องนี้ แต่มีพิเศษ 2 เรื่อง : การสวดภาวนาเป็นบ่อเกิดธรรมดาของพระหรรษทานในการส่องสว่างจิตใจของเรา และการสวดภาวนาเป็นบ่อเกิดธรรมดาแห่งพระหรรษทาน ในการขับเคลื่อนความตั้งใจของเรา
          ในการพิจารณาไตร่ตรอง  เราเห็นว่ามีสองจิตใจ และสองความตั้งใจเข้าอยู่ร่วมด้วยและทั้งสองต้องการพระหรรษทานซึ่งพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้าจะผ่านมาทางการสวดภาวนา
1)                  ก่อนอื่นใดจิตใจของครูคริสตศาสนธรรม ความรู้จากคำสอนของพระศาสนจักร หรือแม้แต่การศึกษาเทววิทยาไม่ได้ทำให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับความจริงที่ได้รับการเผยแสดงซึ่งพระหรรษทานของพระเจ้าเท่านั้นสามารถทำให้เกิดได้ “ ข้าแต่พระเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าแลเห็นเถิด” ควรเป็นบทภาวนาของครูคริสตศาสนธรรมทุกคนที่มีความมุ่งมั่นในการแบ่งปัน การหยั่งรู้ภายในที่ลึกซึ้งของตนเองเกี่ยวกับการเผยแสดงของพระเจ้าแก่คนอื่น เราต้องการพระหรรษทานและสิ่งแรกของพระหรรษทานพื้นฐานที่สุดคือแสงสว่างสำหรับจิตใจ
2)      ในฐานะครูคริสตศาสนธรรม ข้าพเจ้าก็ต้องการให้จิตใจของข้าพเจ้าได้รับการดลใจจากพระ
หรรษทานของพระเจ้าเพื่อว่าพระองค์จะได้ใช้ให้ข้าพเจ้าเป็นช่องทางในการดลใจผู้ที่ข้าพเจ้าสอน มีสิ่งที่เป็นเหมือนกับความต้องการสอนผู้อื่นถึงความเชื่อ นี่ไม่ใช่เป็นเพียงความเต็มใจที่จะสอนผู้อื่น มันเป็นความปรารถนาลึกๆ ที่จะนำผู้อื่นให้มาใกล้ชิดพระเจ้ามากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่ข้าพเจ้าสอนแก่พวกเขา แต่ข้าพเจ้าจะมีความปรารถนานี้เพียงเมื่อข้าพเจ้าได้เป็นเป็นผู้ที่สวดภาวนา
          แต่ก็มีสิ่งที่ว่าการเป็นครูโดยไม่ได้เป็นอัครสาวก ในขณะที่ครูคริสตศาสนธรรมที่แท้จริงทุกคนควรเป็นครูแบบอัครสาวก ครูคริสตศาสนธรรมมีประสาทสัมผัสของภารกิจในฐานะที่เป็นผู้ถูกส่งมาโดยพระคริสตเจ้า ไม่เหมือนอย่างอัครสาวกในยุคแรกเริ่มที่ถูกส่งมาโดยพระเจ้าเพื่อแบ่งปันความจริงที่ถูกเผยแสดงที่พวกเขาได้รับมาจากพระเจ้าก่อนหน้านี้แก่ผู้อื่น
          การสอนคริสตศาสนธรรมไม่ใช่เป็นงานรับจ้าง ไม่ใช่เป็นงานเหมา มันไม่ได้เป็นแม้แต่เป็นคำพูดที่พูดกันในความรู้สึกที่นิยมพูดกันว่าเป็นงานอาชีพ การสอนคริสตศาสนธรรมเป็นงานธรรมทูต สิ่งที่เราได้พูดกันมาจนถึงบัดนี้เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเหตุผลว่าเพราะเหตุใดครูคริสตศาสนธรรมต้องสวดภาวนา : เพื่อรับพระหรรษทานของพระเจ้าสำหรับตัวเอง ผู้ซึ่งพวกเขาสอนคริสตศาสนธรรมต้องได้รับพระหรรษทานเช่นกัน เช่นเดียวกันบทสวดภาวนาของครูคริสตศาสนธรรมก็เป็นแหล่งพระหรรษทานสำหรับบุคคลผู้ซึ่งได้รับการสอนคริสตศาสนธรรม
          พวกเขาต้องการพระหรรษทานเพื่อเข้าใจสิ่งที่พวกเขาได้รับการสอน มันต้อง “สมเหตุผล” สำหรับพวกเขา พวกเขาต้องเข้าใจชัดเจนในสิ่งนี้ ความเชื่อของพวกเขากำลังบอกแก่เขา และแน่นอนที่สุดสิ่งที่พวกเขาได้รับการบอกให้เชื่อเป็นจริง พวกเขาต้องสามารถปกป้องความจริงที่ได้รับ แม้ว่าคนที่อยู่รอบๆข้างพวกเขาไม่เชื่อ หรือเชื่ออย่างเข้มแข็งเช่นกัน หรือแม้ว่าต่อต้านผู้มีความเชื่อที่เชื่อในสิ่งที่ผู้มีการศึกษาบางคนพูดว่ามันไม่เป็นที่ยอมรับ หรือก่อนกลับคืนดี หรือความจริงพื้นฐาน หรือไม่สอดคล้องกับยุคสมัย
          การเชื่อในวิธีนี้ พวกเขาจะต้องการแสงสว่างที่พวกเขาสามารถได้รับจากพระเจ้า ครูคริสต
ศาสนธรรมจะได้รับแสงสว่างนี้สำหรับบุคคลผู้ซึ่งพวกเขากำลังสอนโดยการสวดภาวนาเพื่อพวกเขา
บุคคลผู้ซึ่งกำลังได้รับการสอนในเรื่องความเชื่อ ก็ต้องการพลังเหนือธรรมชาติสำหรับความสมัครใจของเขา พระธรรมล้ำลึกของความเชื่อที่เราพูดถึงไม่สามารถเป็นไปได้ตามเหตุผลของมนุษย์ แต่ก็ไม่สามารถเป็นไปได้อย่างธรรมชาติที่จะนำมาปฏิบัติได้ด้วยความตั้งใจของมนุษย์ตามลำพัง
หากปราศจากพระหรรษทานเหนือธรรมชาติอันอุดมที่ได้รับจากการสวดภาวนา, ความเชื่อก็คงจะอยู่เช่นนั้น: ความคิดที่ดีเพื่อชื่นชม เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่รอด, ไม่ใช่ครั้งเดียวหรือเป็นครั้งคราว แต่เป็นตลอดชีวิต ;ความช่วยเหลือของพระเจ้าตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่จำเป็นบ่อเกิดหลักแห่งความช่วยเหลือของพระเจ้าคือพระหรรษทานของพระเจ้า และวิธีการสำคัญในการที่จะได้รับพระหรรษทานนี้ก็คือ อาศัยการสวดภาวนา- ในที่นี้คือการสวดภาวนาของครูคริสตศาสนธรรมเพื่อบุคคลที่อยู่ภายใต้การดูแลของพวกเขา
ดังนั้นการเป็นครูคริสตศาสนธรรมที่สืบจากอัครสาวกและมีประสิทธิภาพ เราต้องเป็นบุคคลที่สวดภาวนา เช่นเดียวกับราชินีแห่งคณะอัครสาวก ข้าพเจ้าไม่ลังเลที่จะพูดว่า เราต้องไตร่ตรองด้วยการรำพึงภาวนาในจิตใจของเราเสมอ เช่นเดียวกับพระแม่มารี แม้กระทั่งในขณะที่เรากำลังพูดกับคนอื่น

ชีวิตของพระนางมารีย์
          หากข้าพเจ้าจะต้องบรรยายชีวิตของพระพรหมจารีด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว ข้าพเจ้าควรกล่าวว่าพระนางมีชีวิตที่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างมั่นคง
          เรามาดูการแจ้งข่าวการประสูติของพระเยซูเจ้า  นั่นเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ต้องการให้พระนางมารีย์ยอมรับพระประสงค์ของพระองค์ พระนางก็ยอมรับ ทูตสวรรค์ไม่ได้แจ้งให้พระนางไปเยี่ยมเอลีซาเบธญาติของพระนาง อย่างมากที่สุดเขารู้ว่าพระนางอาจทำเช่นนั้น แต่สิ่งที่พระนางทำคืออะไร พระนางระลึกได้ทันทีว่า สิ่งที่เราสรุปอาจจะเรียกว่าพระประสงค์ของพระเจ้า พระนางแสดงออกอย่างต่อเนื่อง  นักบุญลูกาบอกเราว่า “ พระนางทรงรีบออกเดินทาง” คำแนะนำของพระเจ้าน้อยที่สุด และพระนางมารีย์ลงมือทำในสิ่งที่พระเจ้าไม่ต้องบอกให้ทำ เพียงแต่รู้ว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า
          บทสดุดีของพระนางมารีย์เป็นแหล่งข้อมูลของสิ่งที่หมายถึงการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า การทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นการแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า นั่นหมายถึงการสรรเสริญพระองค์ และไม่ใช่การมองหาคำสรรเสริญ หรือการยกย่องเพื่อตนเอง การทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นการแสดงความสุขในพระประสงค์ของพระเจ้า ไม่ว่าเราจะลังเลตามธรรมชาติแค่ไหน นี่เป็นสิ่งที่มีความสุขในการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าในขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ในความทุกข์ การทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นการมองตนเองต่ำต้อยไม่ว่าสิ่งที่พระเจ้าทำผ่านข้าพเจ้าจะยิ่งใหญ่เท่าใดก็ตาม ข้าพเจ้าต้องไม่ทำผิดพลาด ,ไม่เคย, หรือคิดว่าตนเองน่าเชื่อถือสำหรับสิ่งใดก็ตามที่พระเจ้าได้ทำผ่านข้าพเจ้า การทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าไม่ใช่เป็นการหวังอำนาจทางโลกหรือความร่ำรวย แต่เพื่อพึงพอใจกับสิ่งเล็กๆ และการเต็มใจที่จะเป็นคนยากจน หรือจะกล่าวว่าการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นการมองตนเองในฐานะเพียงผู้รับใช้ผู้ไม่เรียกร้องสิทธิใดๆจากพระเจ้า แต่ตระหนักอยู่เสมอถึงหน้าที่ซึ่งผู้รับใช้ต้องทำให้สำเร็จ
ขณะยืนอยู่ที่เชิงกางเขน พระนางมารีย์ทรงทราบว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่พระนางต้องอยู่ที่นั่น ทุกข์ทรมานในจิตใจเพื่อร่วมส่วนกับพระบุตรของพระนาง และหลังจากการเสด็จสู่สวรรค์ พระนางมารีย์ก็ทรงทราบเช่นกันว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่พระนางต้องอยู่กับคณะอัครสาวกและบรรดาศิษย์เพื่อรอการเสด็จมาของพระจิตเจ้า
พระนางเห็นพระประสงค์ของพระเจ้าในฐานะพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้าในชีวิตของพระนางเสมอ สถานการณ์ที่พระนางได้พบตนเอง-พระนางเห็นเป็นส่วนของพระประสงค์ทั้งหมดของพระองค์-แผนการณ์ที่ชาญฉลาดในความดูแลของพระนาง พระนางตอบรับตามนั้น เช่นกันพระนางเห็นพระหัตถ์ลึกลับของพระเจ้าในกิจการของมนุษย์ รวมทั้งจักรพรรดิออกัสตัส ซีซาร์ ซึ่งสั่งให้สำรวจประชากร ซึ่งบังคับให้พระนางต้องไปยังเบธเลเฮมเพื่อให้กำเนิดพระบุตร   รวมถึงเฮโรดผู้ซึ่งได้ผลักดันพระนางให้หลบหนีไปอียิปต์กับพระบุตรพระองค์นั้นในอ้อมแขนของพระนาง และรวมถึงปีลาตผู้ซึ่งตัดสินให้ประหารชีวิตพระบุตรในฐานะนักโทษและเหล่าเพชฌฆาตตอกตรึงพระองค์กับไม้กางเขน
          เช่นเดียวกับพระนางมารีย์  ชีวิตจิตครูคริสตศาสนธรรมเป็นตำราหลักซึ่งพวกเขาสอนเด็กๆ เยาวชน หรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใต้ความดูแลของพวกเขา นี่เป็นสิ่งที่พระนางมารีย์เป็นมากกว่าแบบอย่างสำหรับพวกเราที่จะเลียนแบบในความรู้สึกลึกๆพระนางเป็นผู้นำที่พระเจ้าเลือกสรร จำไว้ว่าพระนางมารีย์ไม่เหมือนกับบุตรของพระเจ้า ต้องมีความเชื่อและความหวังในพระเจ้า ดังนั้นชีวิตของเธอต้องขึ้นอยู่กับความดีพื้นฐาน 2 ประการ ซึ่งครูคริสตศาสนธรรมคนอื่นๆทั้งหมดต้องมี ในการประเมินในสิ่งที่ชีวิตของพวกเขาถูกสร้างขึ้นเหมือนชีวิตของพระนางมารีย์ ในความเชื่อและความไว้วางใจในพระเจ้า พระเจ้าจะใช้พวกเขาไม่เพียงแต่เพื่อสอนคริสตศาสนธรรมแต่เพื่อกลับใจ  และไม่ใช่แค่เพียงเปลี่ยนจิตวิญญาณ,แต่ข้าพเจ้าจะพูดสิ่งนี้อย่างไร-เพื่อเห็นมหัศจรรย์แห่งการกลับใจ  ในโลกปัจจุบันครูคริสตศาสนธรรมควรคาดหวังให้พระเจ้าทำอัศจรรย์แห่งพระหรรษทานเพื่อบุคคลผู้ซึ่งได้รับการสอนความเชื่อที่เที่ยงแท้
          จำไว้ว่าคำสั่งที่พระนางมารีย์พูดกับคนรับใช้ที่คานาเป็นคำสั่งที่พระนางให้แก่ครูคริสตศาสนธรรมทุกคน พระคริสตเจ้าตรัสกับพระมารดาว่าเวลาของพระองค์ยังมาไม่ถึง แต่เป็นเพราะพระมารดาของพระองค์ซึ่งขอร้องพระองค์  ดังนั้นพระองค์จึงได้ทำอัศจรรย์เปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่น พระเจ้าจะทำสิ่งมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติผ่านทางพวกเรา หากพวกเราทำตามคำสั่งของพระนางมารีย์และทำทุกสิ่งซึ่งพระบุตรของพระองค์สั่งให้เราทำ
บทสรุป
บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอล ที่ 2 ยืนยันกับเราว่าพระนางมารีย์เป็นสานุศิษย์องค์แรกของพระคริสตเจ้า พระนางเป็นหนึ่งในช่วงเวลานั้น,เพราะว่าแม้ในขณะที่พระนางพบพระบุตรที่เป็นวัยรุ่นในพระวิหาร,พระนางได้รับบทเรียนจากพระองค์ซึ่งพระนางเก็บไว้ในใจ ไม่เพียงแต่พระนางจะเป็นสานุศิษย์องค์แรกของพระคริสตเจ้าเท่านั้น พระนางเป็นสานุศิษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่มีใครอื่นที่ได้รับการสอนจากพระองค์อย่างลึกซึ้งเหมือนกับที่พระมารดาผู้ซึ่งได้เจริญชีวิตอยู่กับพระองค์ในช่วงชีวิตส่วนใหญ่ที่ดำเนินอยู่ในโลก  พระนางเป็นทั้งพระมารดาและสานุศิษย์ และหากเราจะกล้าพูดว่า “ การเป็นสานุศิษย์ของพระนางสำคัญมากกว่าการเป็นพระมารดา” นั่นเป็นเหตุว่าทำไมผู้แทนของพระคริสตเจ้า(พระสันตะปาปา) จึงไม่ลังเลที่จะเรียกพระนางมารีย์ว่า “พระมารดาและแบบอย่างของ ครูคริสตศาสนธรรม” พระนางเป็นมารดาและแบบอย่างของเราอย่างไร? ในการประเมินว่า พวกเราเป็นครู
คริสตศาสนธรรมผู้ศรัทธา  เช่นเดียวกับพระนาง ก็คือ ครูคริสตศาสนธรรมผู้สวดภาวนา และ ครูคริสต
ศาสนธรรมผู้ดำรงชีวิตตามที่เราสวดภาวนาวอนขอและเชื่อ






อ้างอิง
แปลจากบทความ “ Mary, the Model Catechist”  By Father John A. Hardon, S.J.
                       http://www.mariancatechist.com/formation/mary/index.html  
                       International Office of the Marian Catechist Apostolate
                         P.O. Box 637  La Crosse, Wisconsin 54602-0637 (608) 782-0011


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความนี้
          คุณพ่อยอห์น  แอนโทนี ฮาร์ดอน (Father John Anthony Hardon, S.J.) เป็นพระสงฆ์เยสุอิต  ชาวอเมริกัน  เกิดวันที่  18 มิถุนายน ค.ศ. 1914  เป็นนักเขียนและนักเทววิทยา  มีผลงานเขียนหนังสือมากกว่า  40 เล่ม
          ท่านได้จัดคอร์สอบรมการสอนคริสตศาสนธรรม  และคณะนักบวชของบุญราศีคุณแม่เทเรซา  แห่งกัลกัตตา  และต่อมาก็ประยุกต์ให้สัตบุรุษ  ใน ค.ศ. 1985  คุณพ่อได้ก่อตั้งคณะ Marian  Catechist  Apostolate  (ครูคริสตศาสนธรรมของพระนางมารีย์)  ที่ใช้หลักสูตรดังกล่าวอบรมครูคำสอน
          ปลายชีวิต  คุณพ่อป่วยหลายโรค  และสิ้นใจวันที่  30 ธันวาคม ค.ศ. 2000  รวมอายุ  85 ปี       คุณพ่อได้ดำเนินเรื่องสู่ขั้นตอนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์


วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ศึกษาหลักสูตรคำสอน
หนังสือคำสอนชุดชีวิตคริสตัง

หนังสือคำสอนชุดชีวิตคริสตัง มี 9 เล่ม เป็นผลงานของคณะกรรมการคำสอนแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน คือ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม สภาพระสังฆราชฯ)    ซึ่งในสมัยที่พระสังฆราชรัตน์ บำรุงตระกูลเป็นประธาน ได้จัดพิมพ์หนังสือคำสอนชุดชีวิตคริสตัง ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2525 โดยดัดแปลงมาจาก หนังสือคำสอนชุดพระเป็นเจ้าสถิตกับเรา ของประเทศอินเดียเป็นแนว เพราะเห็นว่ามีความเหมาะสมและใกล้เคียงกับสภาพของประเทศไทยมาก โดยพยายามปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศแบบไทย (อ้างอิง: คำนำทั่วไป)

หลังจากที่เราใช้หนังสือคำสอนชุดนี้มาประมาณ 18 ปี โอกาสฉลอง ปีปีติมหาการุญ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) คณะกรรมการคำสอนฯ ได้พิจารณาหนังสือคำสอนระดับประถม มีความเห็นว่าน่าปรับปรุงให้เหมาะกับวัยเด็กมากขึ้น ทั้งเนื้อหาและรูปเล่ม เราตั้งใจจะเน้นพระคัมภีร์ในการสอนคำสอนมากขึ้น             จึงดำเนินการปรับปรุง โดยดำเนินการร่างโครงสร้างเนื้อหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6โดยพิจารณาจากหนังสือคำสอนเดิม และหนังสือคำสอนชุด Christian Living ของซิสเตอร์คณะออกูสตีเนี่ยน ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีคณะทำงานคือ เซอร์ไอรีน ชำนาญธรรม ผู้อำนวยการศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม สามพราน            คุณครูประภา วีระศิลป์ คุณครูทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ คุณครูภัทรา จั่นมณี ศูนย์คำสอน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และคุณครูกมลา สุริยพงศ์ประไพ โรงเรียนนักบุญเปโตร และมอบหมายให้ครูประภา วีระศิลป์ เขียนหนังสือคำสอนตามโครงสร้างนั้น และส่งให้กรรมการฯ และครูคำสอนบางสังฆมณฑล  เสนอความคิดเห็น จัดรวบรวมความคิดเห็นและปรับปรุง ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2544  ได้จัดพิมพ์หนังสือคำสอนชีวิตคริสตัง เล่ม 1 เป็นการทดลองใช้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 คณะกรรมการฯ ได้ปรับปรุงหนังสือชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 7-8-9                  สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้น ม.1-3) ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยดัดแปลงจากคำสอนชุด Christian Living ของซิสเตอร์คณะออกูสตีเนี่ยน ประเทศฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกัน

ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ปรับปรุงและจัดพิมพ์หนังสือชุดหนังสือชีวิตคริสตัง เล่ม 1-9
 ในปีต่างๆ ดังนี้

เล่มที่
พิมพ์ครั้งที่ 1
ปี พ.ศ.
พิมพ์ครั้งที่ 2
ปี พ.ศ.
พิมพ์ครั้งที่ 3
ปี พ.ศ.
พิมพ์ครั้งที่ 4
ปี พ.ศ.
1
2546
2547
2550

2
2545
2547
2550

3
2547
2549
2550
2551
4
2547
2549
2550
2554
5
2547
2549
2550
2554
6
2547
2549
2550

7
2547
2550
2550

8
2547
2549
2550
2553
9
2547
2549
2550


 (คำนำ: หนังสือชีวิตคริสตัง  เล่ม 1-9 ในปีต่างๆที่พิมพ์หนังสือ)

อนึ่ง หนังสือคำสอนที่เราปรับปรุง ยังคงใช้ชื่อ  หนังสือชุดชีวิตคริสตัง ซึ่งมีทั้งหมด
9 เล่ม ดังนี้
เล่ม 1 ค้นพบพระเจ้าในสิ่งสร้าง                           
เล่ม 2 พบพระเจ้าในพระเยซูเจ้า
เล่ม 3 พบกับพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท                 
เล่ม 4 ติดตามพระเยซูเจ้าในพระวรสาร
เล่ม 5 พระเยซูประทับในชุมชนคริสตชน                 
เล่ม 6 การเป็นพยานถึงพระคริสต์ในสังคม
เล่ม 7 ก้าวไปกับประชากรของพระเจ้า          
เล่ม 8 ก้าวไปกับพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ
เล่ม 9 กลายเป็นชุมชนของศิษย์
 ในแต่ละเล่มจะมีกระบวนการเรียน ดังนี้
          หนังสือชุดชีวิตคริสตัง พยายามให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยอาศัยการไตร่ตรองและกิจกรรม ทั้งประสบการณ์ส่วนตัวและกลุ่ม ครูจะพยายามดึงเนื้อหาจากผู้เรียน กล่าวคือ ชีวิต ประสบการณ์ สภาพแวดล้อม ความฝัน ความต้องการ และปัญหา เราหวังว่ากระบวนการเรียนแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเติบโตก้าวหน้า รู้สึกมีความสุข สันติ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ในเวลาที่ทำงานด้วยกันเพื่อสร้างชุมชนที่ดีขึ้น
           
ในแต่ละบทเรียน มี 5 ขั้น ดังต่อไปนี้
 ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ (Learning Activity)
ครูช่วยนำนักเรียนให้คิดถึงประสบการณ์ ความสนใจ และความต้องการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ ช่วยให้นักเรียนตระหนักรู้ของตนเองและความเห็นของกลุ่ม
 ขั้นที่ 2 การอภิปราย (Discussion)
            ครูช่วยให้นักเรียนแสดงความคิด ความรู้สึก ตอบสนองกิจกรรมกลุ่ม และสรุปความคิดที่เชื่อมกับบทเรียน
ขั้นที่ 3 เนื้อหาคำสอน (Christian Message)
            เป็นการนำเสนอ การพัฒนา และช่วยให้ผู้เรียนลึกซึ้งในข้อคำสอนคริสตชน ครูช่วยอธิบายเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าใจยิ่งขึ้น
 ขั้นที่ 4 เสริมประสบการณ์ (Enrichment)
            เป็นการอภิปรายเพิ่มเติมให้ผู้เรียนเข้าใจชัดเจนขึ้น ครูพยายามให้โอกาสนักเรียนซักถาม
 ขั้นที่ 5 การตอบรับ (My response and my learning)
            เป็นการสรุป ประเมินผลผู้เรียน ด้วยเพลง วางแผน กิจกรรม ข้อตั้งใจปฏิบัติ ครูช่วยผู้เรียนให้ค้นพบวิถีทางใหม่ในการประพฤติตน ความรู้สึก การคิด และการปฏิบัติ
(ปกใน : หนังสือชีวิตคริสตัง  เล่ม 6/ 2549)



เนื้อหาในแต่ละเล่ม มีดังนี้

ชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 1 : พบพระเจ้าในสิ่งสร้าง
 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   พระเจ้าองค์แห่งความดี
บทที่ 1 พระเจ้าเป็นพระผู้สร้าง                                                   
บทที่ 2 ฉันเอาใจใส่ต่อโลก                                                         
บทที่ 3 พระเจ้าสร้างฉันเป็นพิเศษ                                               
บทที่ 4 ฉันขอบคุณพระเจ้า                                                        
บทที่ 5 พระเจ้าพระผู้สร้างเป็นองค์แห่งความดี                             

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2   พระเจ้าประทานคนพิเศษแก่ฉัน
บทที่ 1 พระเจ้าประทานครอบครัวแก่ฉัน
บทที่ 2 พระเจ้าประทานเพื่อนและเพื่อนบ้านแก่ฉัน                        
บทที่ 3 พระเจ้าประทานโรงเรียนแก่ฉัน                                        
บทที่ 4 พระเจ้าประทานคนทำงานในชุมชนแก่ฉัน
บทที่ 5 พระเจ้าประทานเพื่อนในพระศาสนจักรแก่ฉัน                    
บทที่ 6 พระเจ้าประทานบุคคลอื่นๆ ในชุมชน                                

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3   พระเจ้าประทานพระเยซูเจ้าแก่ฉัน
บทที่ 1 พระเยซูเจ้าของขวัญอันยิ่งใหญ่ของฉัน                             
บทที่ 2 พระเยซูเจ้าทรงอวยพรเด็กๆ                                             
บทที่ 3 พระเยซูเจ้า พระบุตรสุดที่รักของพระเจ้า                           
บทที่ 4 พระเยซูเจ้าทรงมอบชีวิตของพระองค์เพื่อเรา                      
บทที่ 5 ขอบคุณพระเจ้าที่ทรงประทานพระเยซูเจ้าแก่ฉัน                

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4   พระเจ้าส่งพระจิตเจ้าลงมา              
บทที่ 1 พระเยซูเจ้าประทานพระจิตเจ้าแก่เรา                                
บทที่ 2 พระจิตเจ้าทรงเสริมพลังความรักแก่เรา                             
บทที่ 3 พระจิตของพระเยซูเจ้า ทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน               
บทที่ 4 พระจิตของพระเยซูเจ้า ทรงนำเราให้เป็นคริสตชนที่ดี
หนังสือชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 2 : พบพระเจ้าในพระเยซูเจ้า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ในสิ่งสร้าง
บทที่ 1 เราขอบคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งสร้าง                                 
บทที่ 2 เราได้รับพระพรโดยทางสิ่งสร้างของพระองค์                    
บทที่ 3 เราเป็นสิ่งสร้างพิเศษของพระเจ้า                                    
บทที่ 4 ขอพระเจ้าช่วยฉันให้เอาใจใส่ในสิ่งสร้าง                          

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  พระเจ้าทรงแสดงพระองค์แก่ผู้ที่ทรงเลือก
บทที่ 1 พระเจ้าทรงทำสัญญากับโนอาห์
บทที่ 2 พระเจ้าทรงเรียกอับราฮัม                                               
บทที่ 3 พระเจ้าทรงปรากฏองค์แก่โมเสส                                    
บทที่ 4 พระเจ้าทรงประทานพระพรแก่ดาวิด                               
บทที่ 5 พระเจ้าทรงสัญญาจะประทานพระเมสสิยาห์                   

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ในพระเยซูเจ้า
บทที่ 1 พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดเป็นมนุษย์                                    
บทที่ 2 พระเจ้าคือพระเจ้าแห่งความเอาใจใส่                              
บทที่ 3 พระเจ้าคือพระเจ้าแห่งความรัก                                      
บทที่ 4 พระเจ้าคือพระเจ้าแห่งการให้อภัย                                  

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  พระเจ้าทรงแสดงองค์ในชุมชนคริสตชน
บทที่ 1 เราอยู่ในชุมชนกับพระเยซูเจ้า                                         
บทที่ 2 เราเจริญชีวิตกับพระเยซูเจ้าในชุมชนคริสตชน                   
บทที่ 3 พระจิตของพระเยซูเจ้าสถิตอยู่ในชุมชนคริสตชน              
บทที่ 4 พูดและฟังพระเยซูเจ้า                                                  
บทที่ 5 แบ่งปันพรสวรรค์ของฉันกับผู้อื่น                                     


ชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 3 : พบกับพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พระเยซูเจ้าทรงเชื้อเชิญเราให้เป็นศิษย์ของพระองค์

บทที่ 1       พระเยซูเจ้าเชิญเราให้เป็นศิษย์ของพระองค์                           
บทที่ 2       การเป็นศิษย์ คือเป็นเพื่อนของพระเยซูเจ้า                              
บทที่ 3       การเป็นศิษย์ คือการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน                           
บทที่ 4       การเป็นหนึ่งเดียวกันในชุมชน                                               
บทที่ 5       เพื่อนช่วยเพื่อน                                                                  

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  ฉันตอบรับการเชิญให้เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า
บทที่ 1       ฉันเติบโตในความเชื่อพร้อมกับชุมชนคริสตชน                       
บทที่ 2       ฉันภาวนากับชุมชนคริสตชน                                                
บทที่ 3       ฉันนมัสการพระเจ้ากับชุมชนคริสตชน                                   
บทที่ 4       ฉันมีส่วนร่วมในศีลศักดิ์สิทธิ์กับชุมชนคริสตชน                      
บทที่ 5       ฉันรักพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์                                             

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ฉันคืนดีกับพระเยซูเจ้าและกับชุมชนคริสตชน
บทที่ 1       ฉันพิจารณาตนเอง                                                             
บทที่ 2       ฉันเสียใจ
บทที่ 3       ฉันสำนึกถึงความต้องการในการให้อภัย                                
บทที่ 4       ฉันให้อภัยและขอการให้อภัย                                               
บทที่ 5       ฉันคืนดีกับผู้อื่นและกับพระเจ้า                                            

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ปังแห่งชีวิตกับพระเยซูเจ้าและกับชุมชนคริสตชน    
บทที่ 1       ชุมชนคริสตชนฉลองศีลมหาสนิท                                        
บทที่ 2       ศีลมหาสนิทครั้งแรกของฉัน
บทที่ 3       ศีลมหาสนิทของประทานแห่งความรัก                                  
บทที่ 4       ฉันสานต่อปังแห่งชีวิตกับผู้อื่น                                             
บทที่ 5       สร้างศิษย์เพื่อพระเยซูเจ้า                                             
ชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 4 : ติดตามพระเยซูเจ้าในพระวรสาร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พระเจ้าทรงดำรงอยู่ในพระวาจาของพระองค์

บทที่ 1        การเริ่มต้นพระวาจาของพระเจ้า
บทที่ 2        พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์                                  
บทที่ 3        พระวาจาและงานของพระเยซูเจ้า                                    
บทที่ 4        บรรดาอัครสาวกและชุมชนคริสตชนแรกเริ่ม                       
บทที่ 5        ผู้นิพนธ์พระวรสาร
                 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ : พระเยซูเจ้า
บทที่ 1        ปาเลสไตน์ : ถิ่นกำเนิดของพระเยซูคริสตเจ้า                      
บทที่ 2        การแจ้งสารเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า
บทที่ 3        การบังเกิดของพระเยซูเจ้า                                               
บทที่ 4        การรับพิธีล้างของพระเยซูเจ้า                                          
บทที่ 5        พระเยซูเจ้าทรงเรียกศิษย์ของพระองค์
                 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พระเยซูเจ้าทรงประกาศถึงพระอาณาจักรสวรรค์   

บทที่ 1        พระเยซูเจ้าทรงสอนถึงวิถีทางของพระเจ้า                          
บทที่ 2        พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนป่วย                                            
บทที่ 3        พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องการให้อภัย                                  
บทที่ 4        พระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงผู้หิวโหย                                           
บทที่ 5        พระเยซูเจ้าทรงให้ชีวิต
                 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พระเยซูเจ้าทรงทำให้พันธกิจของพระองค์สมบูรณ์

บทที่ 1        พระเยซูเจ้าเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม                                     
บทที่ 2        พระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าบรรดาอัครสาวก                            
บทที่ 3        พระเยซูเจ้าทรงรับทรมานและสิ้นพระชนม์                         
บทที่ 4        พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ                                  
ชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 5 : พระเยซูเจ้าประทับในชุมชนคริสตชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พระเยซูเจ้ายังคงประทับอยู่ในชุมชน
บทที่ 1  พระเยซูเจ้าทรงเรียกเราให้เจริญชีวิตในความรักกันและกัน                       
บทที่ 2  พระเยซูเจ้าทรงตรัสกับเราผ่านทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์                           
บทที่ 3  พระเยซูเจ้าทรงเชื้อเชิญเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์                                      
บทที่ 4  พระเยซูเจ้ายังคงประทับอยู่ในชุมชนคริสตชน                                                   

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พระเยซูเจ้าทรงเชื้อเชิญเราให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคริสตชน
บทที่ 1  ศีลล้างบาป เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคริสตชน                                                
บทที่ 2  ศีลล้างบาป เป็นการเฉลิมฉลองของการเริ่มเป็นคริสตชน                   
บทที่ ศีลกำลัง พระจิตเจ้าทรงเจริญชีวิตในเรา                                                      
บทที่ 4  ศีลกำลัง - เป็นพยานยืนยันถึงพระคริสตเจ้าด้วยวาจา และการกระทำ                 
บทที่ ศีลมหาสนิท บ่อเกิดและจุดสูงสุดของชีวิตคริสตชน                                     
บทที่ ศีลมหาสนิท - โมทนาคุณ การถวายบูชา และการระลึกถึง                                

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พระเยซูเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวกับเราในชุมชนคริสตชน
บทที่ ศีลแห่งการคืนดี การกลับใจส่วนบุคคลและส่วนรวม                                        
บทที่ ศีลแห่งการคืนดี มิตรภาพกับพระเจ้าและกับเพื่อนพี่น้อง                                  
บทที่ ศีลเจิมผู้ป่วย พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนเจ็บป่วย                                                
บทที่ ศีลเจิมผู้ป่วย พระเยซูเจ้าทรงรักษาผู้ที่อ่อนแอ                                           
บทที่ พระเยซูเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกับเราในชุมชนคริสตชน
                                                     
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พระเยซูเจ้าทรงเรียกเราให้มีชีวิตแห่งการรับใช้ด้วยความรัก      
บทที่ ศีลสมรส ทรงเรียกให้เป็นศาสนาบริกรของครอบครัว                                        
บทที่ ศีลบวช การเรียกเป็นศาสนบริกรของพระสงฆ์                                                 
บทที่ การเรียกให้เป็นศาสนบริกรของฆราวาส                                                         


ชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 6 : การเป็นพยานถึงพระคริสตเจ้าในสังคม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 จุดเริ่มต้นของชุมชนคริสตชน

บทที่ 1  วันพระจิตเสด็จลงมา                                                                                          
บทที่ 2  พันธกิจในชุมชนคริสตชนแรกเริ่ม                                                                          

บทที่ 3  ชีวิตในชุมชนคริสตชนแรกเริ่ม                                                                              

บทที่ 4  การรับใช้ของชุมชนคริสตชนแรกเริ่ม                                                                      
บทที่ 5  ชุมชนคริสตชนแรกเริ่มหยั่งรากลึกลงในชีวิตและพันธกิจของพระเยซูเจ้า                    
บทที่ 6  ชุมชนคริสตชน : พระศาสนจักร                                                                           

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเติบโตของชุมชนคริสตชน

บทที่ 1  ชุมชนคริสตชนถูกเรียกให้ฟื้นฟูความเชื่อ                                                                
บทที่ 2  ชุมชนคริสตชนถูกเรียกให้เป็นพระศาสนจักรของผู้ยากจน                                         
บทที่ 3  ชุมชนคริสตชนของเราเติบโตในพระจิตเจ้า                                                             
บทที่ 4  พระจิตเจ้าในชีวิตคริสตชน                                                                                              
บทที่ 5  พระจิตเจ้าทรงประทานอำนาจและความเข้มแข็งแก่เราในการเผยแผ่ความเชื่อ

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชีวิตของชุมชนคริสตชน

บทที่ 1  พระเยซูเจ้าเชื้อเชิญเราให้รักซึ่งกันและกัน                                                              
บทที่ 2  คริสตชนต้องเลียนแบบชีวิตของพระเยซูเจ้า                                                           
บทที่ 3  คริสตชนต้องเคารพและเห็นคุณค่าของชีวิต                                                           
บทที่ 4  คริสตชนต้องดูแลรักษาชีวิตของทุกรูปแบบ                                                            

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ภารกิจคริสตชน

บทที่ 1  รับผิดชอบต่อสิ่งสร้างทั้งปวงของพระเจ้า                                                               
บทที่ 2  ส่งเสริมความเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี                                                           
บทที่ 3  การเป็นพยานยืนยัน และประกาศพระวรสาร                                                          
บทที่ 4  มุ่งสร้างกลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐาน                                                              
บทที่ 5  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัด                                                                     



หนังสือชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 7: ก้าวไปกับประชากรพระเจ้า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภาพลักษณ์ของพระเจ้าในประชากรของพระองค์

บทที่ 1         ในภาพลักษณ์ของพระเจ้า                                                    
บทที่ 2        ในฐานะผู้ดูแลสิ่งสร้างของพระเจ้า                                         
บทที่ 3        พระเจ้าทรงเผยแสดงพระองค์แก่ประชากรที่ทรงเลือกสรร
                  : ทรงเผยแสดงแก่ทุกคน                                                       
บทที่ 4        พระวาจาทรงชีวิตของพระเจ้า : พระคัมภีร์                               
บทที่ 5        “พระคัมภีร์ หลักฐานเรื่องราวชีวิตของเรา                                

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พันธสัญญาของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์

บทที่ 1        ความเชื่อของอับราฮัม                                                           
บทที่ 2        “อิสราเอล”                                                                          
บทที่ 3        ทรงเผยแสดงโดยทางโมเสส                                                  
บทที่ 4        พันธสัญญาของพระเจ้า                                                       
บทที่ 5        สู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา                                                     

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 รัชสมัยของพระเจ้าในประชากรของพระองค์

บทที่ 1        การปกครองของกษัตริย์ซาอูล                                                
บทที่ 2        อาณาจักรของกษัตริย์ดาวิด                                                   
บทที่ 3        กษัตริย์ซาโลมอน                                                                 
บทที่ 4        การแบ่งแยกการปกครอง                                                       
บทที่ 5        ประกาศกทางเหนือและทางใต้                                              

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พันธสัญญาแห่งความหวังของพระเจ้าต่อประชากรของพระองค์

บทที่ 1        ประชากรของพระเจ้าขณะที่เป็นเชลย                                     
บทที่ 2        ผู้เผยพระวจนะแห่งความหวัง                                                
บทที่ 3        การสวดภาวนาด้วยเพลงสดุดี                                                
บทที่ 4        การรอคอยพระเมสสิยาห์                                                      


หนังสือชุดชีวิตคริสตังเล่ม 8 : ก้าวไปกับพระเยซูเจ้า ชาวนาซาเร็ธ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การรอคอยพระเมสสิยาห์
บทที่ 1 เหตุการณ์ยิ่งใหญ่ห้าประการในประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอล   
บทที่ 2 การกล่าวทำนายถึงพระเมสสิยาห์                                            
บทที่ 3 ความหวังในช่วงเชื่อมต่อ                                                        
บทที่ 4 ขั้นตอนของธรรมประเพณีพระวรสาร                                       
บทที่ 5 พระวรสารทั้งสี่ พระเยซูคริสตเจ้าองค์เดียว                               

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพบกับพระเยซู ชาวนาซาเร็ธ
บทที่ 1 ปาเลสไตน์ และประชาชนในสมัยของพระเยซูเจ้า                      
บทที่ 2 การบังเกิดของพระคริสตเจ้า                                                   
บทที่ 3 พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง : เตรียมพันธกิจ                                
บทที่ 4 พระเยซูเจ้าทรงถูกทดลอง : เตรียมพันธกิจ                                
บทที่ 5 พันธกิจของพระเยซูเจ้า                                                          
บทที่ 6 ผู้ร่วมงานของพระเยซูเจ้า                                                       

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การมีประสบการณ์กับพระเยซู ชาวนาซาเร็ธ
บทที่ 1 พระเยซู : องค์แห่งการภาวนา                                                 
บทที่ 2 พระเยซู : พระอาจารย์                                                           
บทที่ 3 พระเยซู : ผู้นำแบบผู้รับใช้                                                      
บทที่ 4 พระเยซู : ผู้เมตตา                                                                 
บทที่ 5 พระเยซู : ผู้ให้อภัย                                                                
บทที่ 6 พระเยซู : ผู้ยุติธรรม                                                               

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ก้าวไปกับพระเยซู ชาวนาซาเร็ธ
บทที่ 1 สตรีที่หมู่บ้านเบธานี                                                              
บทที่ 2 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย                                                              
บทที่ 3 การถูกตรึงและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนของพระเยซูเจ้า            
บทที่ 4 พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ                                         


หนังสือชุดชีวิตคริสตังเล่ม 9 : กลายเป็นชุมชนของศิษย์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเริ่มชุมชนของพระคริสตเจ้า                     
บทที่ 1 พระจิตเจ้าเสด็จมา                                                             
บทที่ 2 นักบุญเปาโลและงานแพร่ธรรมของท่าน                                
บทที่ 3 สมาชิกในครอบครัวพระศาสนจักร                                        
บทที่ 4 ชุมชนของพระคริสตเจ้าถูกกดขี่ข่มเหง                                   

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเติบโตของชุมชนของคริสตชน
บทที่ 1 ผู้ปกป้องและพัฒนาพระศาสนจักร                                       
บทที่ 2 ความแตกแยกในชุมชนคริสตชน                                          
บทที่ 3 การฟื้นฟูชุมชนของพระคริสตเจ้า                                          
บทที่ 4 ประวัติพระศาสนจักรในประเทศไทย                                     
บทที่ 5 พระศาสนจักรในประเทศไทย                                               

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเฉลิมฉลองเพื่อชีวิตของชุมชนคริสตชน
บทที่ 1 เครื่องหมายแห่งความรักของพระเจ้า                                     
บทที่ 2 ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้น                                                 
 : ศีลล้างบาป  ศีลกำลัง  ศีลมหาสนิท                                   
บทที่ 3 ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา                                        
 ก. ศีลอภัยบาป                                                                   
 ข. ศีลเจิมผู้ป่วย                                                                  

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 คำมั่นสัญญาในการส่งเสริมพระอาณาจักรพระเจ้า

บทที่ 1 ศีลสมรส : คำสัญญาแห่งความรักและชีวิต                           
บทที่ 2 ศีลบรรพชา : คำสัญญาในการรับใช้พระเจ้าและปวงชน           
บทที่ 3 ชีวิตนักบวช : คำสัญญาในการส่งเสริมพระอาณาจักรพระเจ้า   
บทที่ 4 แต่ละบุคคล : คำสัญญาในการส่งเสริมพระอาณาจักรพระเจ้า 

(สารบัญ : หนังสือชีวิตคริสตัง เล่ม 1-9 )
                                                                                       

 ดังนั้นทางคณะกรรมการฯ จึงขอให้แต่ละสังฆมณฑลในประเทศไทย ใช้หนังสือคำสอนชุดชีวิตคริสตัง เล่ม 1-9 นี้ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการสอน คริสตศาสนธรรม (คำสอน) ในระบบโรงเรียน เขตวัด เพื่อเตรียมเด็กรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และเรียนรู้คริสตศาสนธรรมอย่างเป็นระบบต่อไป 

(เอกสารนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอน วิชาการฝึกปฏิบัติ 1 :  การสอนคริสตศาสนธรรม      (PT 171   Practicum 1 : Catechesis) ในวันที่ 10-14 ตุลาคม 2554  โดยอาจารย์ทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ : คณะศาสนศาสตร์ สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม )

............................................................................................................................